skip to Main Content
ทำไมคนอ้วนที่อยากผอมจึงไม่ควรวิ่ง?

ทำไมคนอ้วนที่อยากผอมจึงไม่ควรวิ่ง?

คอร์สลดน้ำหนักแบบองค์รวม #SAIJAISLIM ทำให้ได้พบกับผู้ที่เป็นโรคอ้วนหลายคนที่วิ่งเพื่อให้ตัวเองผอม ถามว่า #วิ่งแล้วผอมได้มั้ย คำตอบคือได้ แต่อาจจะได้ไม่คุ้มเสีย

 อยากให้ดูที่หัวข้อของบทความนี้ แล้วจับประเด็น 3 ประเด็น

1.“คนอ้วน” หรือที่จั่วหัวไว้ว่า ผู้ที่เป็น #โรคอ้วน ในที่นี้คือผู้ที่มีดัชนีมวลกาย 25 ขึ้นไป ซึ่งหมายความว่ามีความรุนแรงของความอ้วนมากกว่าผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินเสียอีก (ดัชนีมวลกาย 23-24.9)*

2.“อยากผอม” ในที่นี้ให้มองที่สมการความผอม  กัน ผอม = เอาออก > เอาเข้า และขอให้มองให้ลึกไปอีกว่า เอาอะไรออก เอาอะไรเข้า? คำตอบก็คือ เอาพลังงานนั่นเอง

3.“ไม่ควรวิ่ง” ซึ่งเดี๋ยวผมจะโยงกลับไปที่ 2 ข้อแรกในการบรรยายด้านล่าง

 
หากใครที่เป็นโรคอ้วน และต้องการจะผอม สิ่งแรกที่ควรทำ ไม่ใช่การวิ่งเพื่อ #ลดความอ้วน แต่ต้องทำความเข้าใจกับร่างกายของตัวเองก่อน ว่ามีน้ำหนักมาก และน้ำหนักนั้น เมื่อเกิดการกระแทก อาจทำให้เกิดผลเสียกับกระดูก/ข้อต่อกระดูก/หรือส่วนอื่นๆ ได้สิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจไม่ได้คิด คือในขณะที่วิ่ง ร่างกายมีโอกาสรับแรงกระแทกได้ถึง 4 เท่าของน้ำหนักตัว ดังนั้น หากผู้วิ่งหนัก 100 ก.ก. ก็แปลว่าเข่าและข้อเท้าของเขาอาจรับแรงกระแทกมากถึง 400 ก.ก. ทุกก้าวของการวิ่ง ดังนั้นการวิ่ง จึงยังไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดของการลดน้ำหนัก
 
อีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนไม่เข้าใจ คือกระบวนการที่ทำให้เราผอมลง สมมุติเราเทียบ #การเดินเร็วกับการวิ่ง คนส่วนใหญ่จะคิดว่า วิ่งเหนื่อยกว่า เหงื่อออกมากกว่า ดังนั้น ต้องทำให้ผอมได้ดีกว่า ในความเป็นจริง ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะ
 
ในขณะที่เราเดินเร็ว หัวใจของเราจะเต้นอยู่ราวๆ โซน 2 คือไม่เกิน 70% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด** ซึ่งในช่วงนี้เรียกว่า Fat-burning zone เพราะการออกกำลังกายในระดับนี้จะใช้พลังงานจาก “ไขมัน 85%” “คาร์โบไฮเดรต 10%” และ “โปรตีน 5%”
ส่วนในระหว่างวิ่ง เมื่ออัตราการเต้นของหัวใจถี่ขึ้นไปถึงระดับที่เรียกว่าโซน 3 หรือ 4 หรือ 5 นั้นพลังงานจะถูกดึงออกมาจากไขมันน้อยลง และคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น เช่น โซน 3 หรือ Aerobic Heart Rate Zone (70-80% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด) ร่างกายจะใช้พลังงานจาก “ไขมัน 50%” “คาร์โบไฮเดรต 50%” และ “โปรตีนไม่ถึง 1%” และ โซน 4 หรือ Anaerobic Heart Rate Zone (80-90% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด) ร่างกายก็จะใช้พลังงานจาก“ไขมัน 15%” “คาร์โบไฮเดรต 85%” และ “โปรตีนน้อยกว่า 1%”
 
ส่วนที่น้ำหนักหลังวิ่ง ดูจะลงไปมากกว่าหลังเดินเร็วนั้น เป็นเพราะเราเสียเหงื่อไปมากกว่าในตอนวิ่งนั่นเอง เมื่อดื่มน้ำ ร่างกายก็จะดูดซึมน้ำเก็บไว้ ทำให้น้ำหนักกลับขึ้นมาใหม่ใกล้เคียงเดิม
 

ดังนั้น #คนอ้วนที่อยากผอมจึงยังไม่ควรวิ่ง เพราะจะเสี่ยงต่อการทำให้ข้อต่อกระดูกเสียหาย และไม่ได้เอาไขมันที่สะสมไว้มาเปลี่ยนเป็นพลังงานมากเท่าการเดินเร็วซึ่งเป็นตัวอย่าง (ในบทความนี้) ของการออกกำลังกายที่อัตราการเต้นหัวใจอยู่ประมาณโซน 2

สนใจสั่งซื้อหรือถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยค่ะ

Tel: 08 7365 3556

Facebook : SaijaiSlim

Line@ : @saijaislim

IG : saijaislim

 

 

Back To Top